Protocol สำหรับ IoT Device มีอะไรบ้าง

ถ้าพูดถึงการสื่อสาร การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ IoT ต่างๆ ในปัจจุบันที่เป็นที่รู้จักกันดีและใช้กันอย่างแพร่หลาย  ไม่ว่าจะเป็น 2G/3G/4G cellular,, Bluetooh, WIFI แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ในโลกของเทคโนโลยีนั้น ยังมี Protocol อีกมากมาย ที่หลายคนยังไม่รู้จัก ซึ่งใน blog วันนี้ แอดมินจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ IoT Protocol กันค่ะ

Protocol (โปรโตคอล) คืออะไร?

โปรโตคอล คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือภาษาสื่อสารที่ใช้เป็น ภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีการสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) เช่นเดียวกับคนเราที่ต้องมีภาษาพูดเพื่อให้สื่อสารเข้าใจกันได้ ซึ่งอยู่หลากหลายประเภท ดังต่อไปนี้

1. Protocol HTTP

ย่อมาจาก Hypertext Transfer Protocol เป็น Protocol ที่ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง Server  และ Client โดยนำไปสู่การเชื่อมต่อกับ World Wide Web ( www ) ซึ่งถูกออกแบบมาให้มีการทำงานได้รวดเร็ว ไม่ซับซ้อน โดยจะใช้ได้เมื่อเรียกโปรแกรม web browser ต่างๆ เช่น  IE, Google Chrome, Safari เป็นต้น  ขึ้นมาเรียกดูข้อมูลหรือเว็บเพจ โดยที่จะมี HTTP Protocol ที่ทำให้ Server สามารถส่งข้อมูลมาให้ Browser ตามที่ต้องการ และ Browser ก็จะนำข้อมูลมาแสดงผลบนหน้าจอ

2. Protocol TCP/IP

เรียกได้ว่า เป็น Protocol ที่สำคัญมากที่สุดเนื่องจากเป็น Protocol ที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่าย Internet เพื่อให้สามารถสื่อสารจากต้นทาง ข้ามเครือข่าย ไปยังปลายทางได้ และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ ซึ่งแยกออกมาได้เป็น 2 อย่างคือ

  • Protocol TCP ย่อมาจาก  “Transmission Control Protocol”  : ซึ่ง TCP จะทำหน้าที่ในการแยก package ส่งออกไป ส่วนปลายทางก็จะทำการรวมเอาข้อมูลนำไปประมวลผลต่อ ดังนั้น ระหว่างการรับและส่งข้อมูลนั้น จะมีการตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องด้วย  และถ้าหากมีการผิดพลาดเกิดขึ้น ทาง TCP ที่ปลายทาง ก็จะทำการขอไปยังต้นทาง เพื่อส่งข้อมูลใหม่มาให้
  • Protocol IP  ย่อมาจาก  “Internet  Protocol” : IP ก็จะเป็นส่วนที่ทำการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง โดยผ่าน IP Address นั่นเอง

3. Protocol SMTP

ย่อมาจาก Simple Mail Transfer Protocol เป็น Protocol ที่ใช้ในการรับส่ง Email ใน Internet ที่เราใช้กันในปัจจุบัน

4. Protocol FTP

ย่อมาจาก File Transfer Protocol เป็น Protocol ที่เอาไว้ใช้ในการการโอนย้ายแฟ้มระหว่างกัน ส่วนใหญ่จะใช้ในการ upload file  ขึ้น server

5. Protocol NNP

ย่อมาจาก Network News Transfer Protocol เป็น Protocol ที่ใช้ในการโอนย้ายข่าวสารระหว่างกัน

6. Protocol ICMP

ย่อมาจาก Internet Control Message Protocol เป็น Protocol ที่เอาไว้ใช้ในการสอบถามข้อมูลระหว่างกัน

7. Protocol POP3 (Post Office Protocol 3)

เป็น Protocol ที่เอาไว้รับ email จาก server โดยจะเป็นการให้ผู้ใช้ โหลดอีเมล์เอามาเก็บเอาไว้อ่านแบบ Offline โดยที่ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับ Internet

8. Protocol DHCP

ย่อมาจาก Dynamic Host Configuration Protocol เป็น Protocol ที่ใช้ในเครือข่ายการทำงานแบบ แม่ข่าย และ ลูกข่าย ของคอมพิวเตอร์

9. Protocol IMAP (Internet Message Access Protocol)

เป็น Protocol ที่เอาไว้รับอีเมล์จาก server เพื่ออ่านแบบ Online

 

แต่ที่ผู้ที่สนใจงานด้าน IoT ควรจะต้องรู้เพิ่มเติมก็คือ Protocol สำหรับเชื่อมต่อ IoT Device​โดยเฉพาะ จะมีอีก 2 รูปแบบ ตามด้านล่างนี้

10. MQTT Protocol 

MQTT ย่อมาจาก Message Queue Telemetry Transport เป็น protocol โดยถูกพัฒนาขึ้นจากวิศวกร IBM และ Arcomในปี 1999  ออกแบบมาเพื่อเชื่อมต่อแบบ M2M หรือ Machine to Machine หรือให้เข้าใจกันง่ายๆ คือ “อุปกรณ์ กับ อุปกรณ์” เพื่อรองรับเทคโนโลยี IoT นั่นเอง เช่น ทำให้มนุษย์เราสามารถ เชื่อมโยงสื่อต่างกับอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เข้ากับระบบ Internet ทำให้เราสามารถที่จะควบคุมอุปกรณ์จากที่อื่นได้ เช่น การ สั่งเปิดปิดแอร์ เปิดปิดไฟบ้านจากที่อื่นๆ

เช่นเดียวกับ Internel Protocol ทั่วไป MQTT Protocol ก็จะทำงานขึ้นอยู่กับ Client และ Server ซึ่ง Server ก็จะเป็นตัวที่ทำหน้าที่รับคำสั่งมาจาก Client เพื่อรับส่งข้อมูลระหว่างวัน

ซึ่ง MQTT server  นั้นจะถูกเรียกว่า “Broker” และ Client ก็จะเป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ถึงกัน

ดังนั้น

  • เมื่อ Client ต้องการส่งข้อมูลไปหา Broker เราจะเรียกการทำงานนี้ว่า “Publish”
  • เมื่อ Client ต้องการรับข้อมูลจาก Broker เราจะเรียกการทำงานนี้ว่า​”Subscribe”

 

white.png

 

11.RESTful API

RESTful API คือ program interface อย่างหนึ่งที่อาศัย URI/URL ของ request เพื่อค้นหาและประมวลผล จากนั้นก็จะตอบกลับไปในรูปของ XML, HTML, JSON โดย response ที่ตอบกลับจะเป็นการยืนยันผลของคำสั่งที่งส่งมา โดยภาษาในยุคปัจจุบันนี้มีการรองรับ RESTful Web Service หรืออีกชื่อหนึ่งคือ RESTful Web API กันเป็นส่วนใหญ่แล้ว จุดเด่นคือ รองรับเรื่อง caching ข้อมูล รองรับการขยายระบบได้ง่าย และทำงานโดยไม่ต้องมี session (stateless)

 

restful

 

สำหรับลูกค้าท่านใดสนใจ อุปกรณ์ IoT ที่รองรับ Protocol ที่อธิบายไปด้านบนนี้ สามารถติดต่อสอบถามกับทาง IBCON ได้โดยตรง ซึ่งทางเรามีทีมผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำและคำปรึกษา เพื่อช่วยเลือกอุปกรณ์ให้ตรงกับความต้องการลูกค้าให้ได้มากที่สุด

 

Screen Shot 2561-09-18 at 08.55.32.png

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

  1. โทร 0-2540-2299
  2. Email : nuttakan@ibcon.com
  3. Facebook: https://www.facebook.com/IBCON/messages/
  4. Line@ : @ibcon (มี @ ข้างหน้า) หรือ กดลิงค์ที่นี่ http://line.me/ti/p/%40ibcon

 

ข้อมูลอ้างอิง

  • https://www.tutorialspoint.com/security_testing/
  • http_protocol_basics.htm
  • http://www.ongitonline.com
  • http://www.it-guides.com
  • https://1sheeld.com/mqtt-protocol/
  • https://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/protocol/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *